กระจกฉนวนคืออะไร
กระจกฉนวน หรือ กระจกกันความร้อน หรือ กระจกอินซูเลท ( Insulated Glass ) เป็นกระจกที่ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนระหว่างภายในและภายนอกอาคาร ช่วยประหยัดพลังงาน และป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก
โครงสร้งกระจกฉนวน
ลักษณะและส่วนประกอบของกระจกฉนวนนั้น คือการนำกระจกตั้งแต่ 2 ขึ้นไป นำมาประกบกันซึ่งระหว่างขอบของแผ่นนั้นจะมีเฟรมอลูมิเนียมกั้นโดยรอบซึ่งภายในเฟรมอลูมิเนียมนี้จะบรรจุสารดูดความชื้นไว้ และขอบด้านชั้นถอดมาด้านนอกจะมีซีลปิดอีกชั้นหนึ่ง ภายในช่องว่างของแผ่นกระจกเรียกว่า ช่องอากาศ (air gap) จะมีการบรรจุก๊าซเฉื่อย หรืออากาศแห้ง หรือก๊าซอากอร์นเข้าไป
โครงสร้งกระจกฉนวน
แผ่นกระจกที่ใช้ทำกระจกฉนวนนั้นจะเป็นกระจกประเภทต่างๆ เช่น กระจกนิรภัยเทมเปอร์ กระจกโฟลต หรือ กระจกลามิเนต ฯลฯ ส่วนซีลปิดขอบจะเป็นวัสดุประเภทซิลิกอน (Silicone) หรือ โพลีไอโซบิวทิลีน (Polyisobutylene)
ตัวอย่างกระจกฉนวน
กระจกฉนวนนั้นสามารถนำไปใช้งานได้กับอาคารทุกประเภทไม่ว่าขนาดเล็ก ขนาดใหญ่ หรือ อาคารสูง ที่ต้องการควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ไม่ว่าจะเป็นด้านเสียง ,อุณหภูมิ และการประหยัดพลังงาน เช่น โรงแรม อาคารสนามบิน ห้องบันทึกเสียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้เป็นการตกแต่งอาคารที่ต้องการควบคุมอุณหภูมิ เช่น พิพิธภัณฑ์ อาคารเก็บอาหาร ห้องเก็บไวน์ เป็นต้น
ตัวอย่างกระจกฉนวน
ข้อดีของกระจกฉนวน
-สามารถสะท้อนความร้อนได้ 80%
-สามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ประมาณ 95%-98%
-ช่วยประหยัดพลังงาน เพราะสามารถลดการถ่ายเทความร้อนระหว่างภายในอาคารและภายนอกอาคาร ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนัก
- ไม่เกิดฝ้า หรือ หยดน้ำ แม้ว่าอุณหภูมิภายในกับภายนอกจะแตกต่างกันมาก
-ลดเสียงรบกวนที่มาจากภายนอกอาคาร
ข้อเสียของกระจกฉนวน
- มีน้ำหนักค่อนข้างมาก เพราะหนากว่ากระจกทั่วไป
- ขนาดของกรอบเฟรม มีขนาดที่กว้างขึ้นกว่ากระจกทั่วไป
กระจกฉนวนที่ติดตัวในตัวอาคาร
10 ยี่ห้อ ผลิตภัณฑ์ ปูน สี ที่หาซื้อได้ เพื่อนำมาทำบ้าน ผนังปูน loft DIY ได้เองง่าย
กระเบื้องลอนคู่ VS หลังคาเมทัลชีท เริ่มมีการจับคู่เปรียบเทียบกันอยู่บ่อยๆของคนที่จะสร้างบ้าน หรือต่อเติมซ่อมแซมบ้าน
ณ เวลานี้กระแสแนวลอฟท์มาแรงมาก จะไปที่ไหนก็พบเจอแต่สไตล์ลอฟท์ ไม่ว่าเป็น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือแม้แต่คอนโด บ้านที่พักอาศัย
แบบบ้านเรือนไทยมีใช้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึง สมัยรัชกาลที่ 3 จะเป็นบ้านที่ทำด้วยไม้ทั้งหลัง ยกสูงมีใต้ถุน มีเสาต้นใหญ่ๆ
มาทำความเข้าใจเรื่องปูนซีเมนต์กันก่อนว่าเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์แต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติต่างกันตามแต่ขั้นตอนการผลิต ในแต่ละประเภทจะมีการผสมวัสดุต่างๆแตกต่างกันเพื่อให้เหมาะกับงานประเภทต่างๆ
เหล็กชุบกัลวาไนซ์ คือคือกระบวนการนำสังกะสีมาชุบเคลือบตัวเหล็ก เพื่อป้องกันการเกิดสนิม ที่นิยมกันในท้องตลาดมี 2 วิธีคือ การชุบกัลวาไนซ์ และ การทาสีกันสนิม
ลักษณะการใช้งาน -เม็ดยางดำ จะมีขนาด 1-3 มิลลิเมตร ใช้สำหรับรองพื้นชั้นล่าง -เม็ดยางสี จะมีขนาด 1-4 มิลลิเมตร ใช้สำหรับโรยผิวหน้าของพื้น มีอยู่หลากหลายสี เช่น เขียว ชมพู แดง น้ำเงิน ม่วง ส้ม เหลือง เป็นต้น
กระจกฉนวน หรือ กระจกความร้อน หรือ กระจกอินซูเลท ( Insulated Glass ) เป็นกระจกที่ช่วยลดการถ่ายเทความร้อนระหว่างภายในและภายนอกอาคาร ช่วยประหยัดพลังงาน และป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก
PEB ย่อมาจากคำว่า Pre Engineering Build ซึ่งความหมายโดยรวมก็คือ อาคารที่สร้างมาจากโครงสร้างที่เป็นเหล็กสำเร็จรูป ซึ่งโครงสร้างจะถูกนำมาประกอบที่หน้างานด้วยการยึดต่อด้วยสลักเกลียวหรือน๊อต
แผ่นไม้อัด (Plywood) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำไม้โดยการนำแผ่นไม้ธรรมชาติที่มีขนาดบาง ( Veneer ) มาวางขวางซ้อนสลับ(ลายไม้)กันเป็นชั้น (เพื่อเพิ่มสมบัติ ทางความแข็งแรง และลดการขยายตัวหรือหดตัวในแนวระนาบของแผ่น) ตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป อัดยึดให้ติดกันด้วยกาวเคมีเป็นตัวเชื่อมประสาน